Breaking

Responsive Ads Here

1.3 ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรม

        การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้ทำงานตามที่เราต้องการนั้น ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องรู้ว่าจะให้โปรแกรมทำอะไร มีข้อมูลอะไรที่ต้องให้กับโปรแกรมบ้าง และต้องการเอาต์พุตอย่างไรจากโปรแกรม รวมทั้งรูปแบบการแสดงผลด้วย ผู้ที่ทำการเขียนโปรแกรมจะต้องทราบถึงขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหาของโปรแกรมด้วยว่าจะต้องทำอย่างไร โดยเขียนเป็นลำดับขั้นตอนขึ้นมาก่อนแล้วจดบันทึกเอาไว้ จากนั้นจึงนำลำดับขั้นตอนมาพัฒนาเป็นโปรแกรม โดยทั่วไปแล้วขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมแบ่งได้ดังนี้
        1. กำหนดปัญหาและวิเคราะห์ปัญหา (Problem Definition and Problem Analysis)
        2. เขียนผังงานและซูโดโค้ด (Pseudocoding)
        3. เขียนโปรแกรม (Programming)
        4. ทดสอบและแก้ไขโปรแกรม (Program Testing and Debugging)
        5. ทำเอกสารและบำรุงรักษาโปรแกรม (Program Documentation and Maintenance)

การกำหนดและวิเคราะห์ปัญหา
        ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนแรกสุดที่นักเขียนโปรแกรมจะต้องทำ การให้คอมพิวเตอร์แก้ปัญหาต่าง ๆ ให้เรานั้น เราจะต้องมีแนวทางที่แก้ไขปัญหาที่เหมาะสมให้กับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การกำหนดและวิเคราะห์ปัญหามีขั้นตอนย่อย ๆ ดังต่อไปนี้
        1. กำหนดขอบเขตของปัญหา
        2. กำหนดลักษณะของข้อมูลเข้าและออกจากระบบ
        3. กำหนดวิธีการประมวลผล

การเขียนผังงานและซูโดโค้ด
        หลังจากที่ได้วิเคราะห์ปัญหาแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะต้องใช้เครื่องมือช่วยในการออกแบบโปรแกรม ซึ่งยังไม่ได้เขียนเป็นโปรแกรมจริง ๆ แต่จะช่วยให้เขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น โดยเขียนเป็นลำดับขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมที่เรียกว่า อัลกอรึทึม โดยอัลกอรึทึมนั้นอาจเขียนให้อยู่ในรูปของรหัสจำลองหรือซูโดโค้ด หรือเขียนเป็นผังงาน ก็ได้

การเขียนโปรแกรม
        หลังจากที่ผ่านขั้นตอนทั้งสองแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะต้องเขียนเป็นโปรแกรมเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถประมวลผลได้ โดยเปลี่ยนขั้นตอนการทำงานให้อยู่ในรูปรหัสภาษาคอมพิวเตอร์ การเขียนโปรแกรมจะต้องเขียนตามภาษาที่คอมพิวเตอร์เข้าใจโดยอาจใช้ภาษาระดับสูง หรือระดับต่ำ ซึ่งสามารถเลือกได้หลายภาษาจะต้องทำตามหลักไวยากรณ์

การทดสอบและแก้ไขโปรแกรม
        หลักจากเขียนโปรแกรมจะต้องตรวจสอบความถูกต้องของโปรแกรมที่เขียนขึ้นโดยทั่วไปแล้วข้อผิดพลาดจากการเขียนโปรแกรมจะมี 2 ประเภทคือ
        1.การเขียนคำสั่งไม่ถูกต้องตามหลักการเขียนโปรแกรมภาษานั้น ๆ
        2.ข้อผิดพลาดทางตรรก เป็นข้อผิดพลาดที่โปรแกรมทำงานได้ แต่ผลลัพธ์ออกมาไม่ถูกต้อง

ทำเอกสารและบำรุงโปรแกรม
        ขั้นตอนนี้จะทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสะดวกในการตรวจสอบข้อผิดพลาด แบ่งออกเป็น 2ประเภท คือ
        1. คู่มือการใช้ ซึ่งจะอธิบายการใช้โปรแกรม
        2.คู่มือโปรแกรมเมอร์ ซึ่งจะอำนวยความสะดวกในการแก้ไขโปรแกรมและพัฒนาโปรแกรมในอนาคต
        ส่วนการบำรุงรักษาโปรแกรม เป็นการที่ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องคอยตรวจสอบการใช้โปรแกรมจริง เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดซึ่งอาจจะเกิดขึ้นภายหลัง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น